ฉลอง 34 ปี “กล้องฮับเบิล” ปล่อยภาพ “เนบิวลาดัมเบลล์น้อย” ตะมุตะมิ

24 เม.ย. 1990 คือวันแรกที่ “กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล” (HST) ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศ เพื่อปฏิบัติภารกิจบันทึกภาพและช่วยศึกษาวัตถุต่าง ๆ ในอวกาศ ไม่ว่าจะเป็นดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ เนบิวลา รวมถึงกาแล็กซีอื่น ๆ นอกทางช้างเผือก

เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 34 ปีของการปล่อยฮับเบิล นักดาราศาสตร์ได้ถ่ายภาพเนบิวลาดัมเบลล์น้อย (Little Dubbell Nebula) หรือที่รู้จักในชื่อกาแล็กซี M76 ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 3,400 ปีแสง ในกลุ่มดาวเพอร์ซีอุส (Perseus)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นักวิทย์พบ “หลุมดำดาวฤกษ์” ใหญ่สุดในกาแล็กซีทางช้างเผือก

“เจมส์ เว็บบ์” เปิดภาพ “M82” กาแล็กซีสุดขั้ว สร้างดาวฤกษ์อย่างบ้าคลั่ง

M76 เป็นเป้าหมายยอดนิยมของนักดาราศาสตร์สมัครเล่น จัดอยู่ในประเภทเนบิวลาดาวเคราะห์ (Planetary Nebula) ซึ่งเป็นกลุ่มก๊าซเรืองแสงซึ่งถูกพ่นออกจากดาวยักษ์แดงที่กำลังจะตายและยุบตัวกลายเป็นดาวแคระขาวที่มีความหนาแน่นสูง

เนบิวลาดาวเคราะห์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์แต่อย่างใด ชื่อนี้มีที่มาจากนักดาราศาสตร์ในทศวรรษ 1700 ที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ความละเอียดต่ำและคิดว่าวัตถุประเภทนี้มีลักษณะคล้ายกับดาวเคราะห์

M76 ประกอบด้วยวงแหวน และมีกลีบสองกลีบที่ช่องเปิดของวงแหวนด้านใดด้านหนึ่ง ลักษณะเช่นนี้อาจเกิดจากการที่ครั้งหนึ่งเคยมีดาวฤกษ์คู่แฝด (Binary Companion Star)

ดาวฤกษ์ที่ยุบตัวเป็นดาวแคระขาวจนเกิดเนบิวลาดัมเบลล์น้อยนี้เป็นหนึ่งในเศษดาวฤกษ์ที่ร้อนที่สุดที่มนุษย์เคยค้นพบ โดยมีอุณหภูมิร้อนจัดสูงถึง 138,000 องศาเซลเซียส หรือ 24 เท่าของอุณหภูมิพื้นผิวดวงอาทิตย์ ดาวแคระขาวที่ร้อนจัดสามารถมองเห็นได้เป็นจุดที่ใจกลางเนบิวลา

กลีบ 2 กลีบที่เราเห็นในภาพเป็นก๊าซร้อนที่หนีออกมา ไปตามแกนการหมุนของดาวฤกษ์ พวกมันถูกขับเคลื่อนโดยการไหลของวัตถุคล้ายพายุเฮอริเคนจากดาวฤกษ์ที่กำลังจะตาย ซึ่งพุ่งทะลุอวกาศด้วยความเร็ว 3.2 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง เร็วพอที่จะเดินทางจากโลกไปยังดวงจันทร์ภายใน 7 นาที

ลมดาวฤกษ์ที่พัดแรงนี้พัดเข้าสู่บริเวณก๊าซที่เย็นกว่าและเคลื่อนที่ช้ากว่า ซึ่งถูกขับออกมาในช่วงแรกวงจรชีวิตดาวฤกษ์ เมื่อมันกลายเป็นดาวยักษ์แดง รังสีอัลตราไวโอเลตที่รุนแรงทำให้เกิดก๊าซเรืองแสง สีแดงมาจากไนโตรเจน และสีน้ำเงินมาจากออกซิเจน

สำหรับกล้องฮับเบิลนั้น ตลอด 34 ปีที่ผ่านมาได้สังเกตการณ์วัตถุทางดาราศาสตร์ด้วยช่วงความยาวแสงอัลตราไวโอเล็ตไปแล้วมากกว่า 53,000 วัตถุ รวมจำนวน 1.6 ล้านครั้ง ชุดข้อมูลทั้งหมดใหญ่กว่า 184 เทราไบต์ และตั้งแต่ปี 1990 มีการตีพิมพ์บทความวิทยาศาสตร์ 44,000 ฉบับเกี่ยวกับการสังเกตการณ์ของฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวนี้เป็นภารกิจที่มีประสิทธิผลทางวิทยาศาสตร์มากที่สุดในประวัติศาสตร์ขององค์การนาซา โดยที่การค้นพบส่วนใหญ่ของฮับเบิลไม่ได้เป็นสิ่งที่คาดหมายมาก่อน เช่น หลุมดำมวลมหาศาล บรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ เลนส์โน้มถ่วงจากสสารมืด การมีอยู่ของพลังงานมืด และการก่อตัวของดาวเคราะห์ในหมู่ดาวฤกษ์

แม้นาซาจะมีกล้องโทรทรรศน์อวกาศทรงประสิทธิภาพอย่าง เจมส์ เว็บบ์ (JWST) ที่ถ่ายภาพในคลื่นความยาวแสงอินฟราเรด แต่มันถูกออกแบบมาให้ทำงานร่วมกับฮับเบิล ไม่ใช่ทดแทน

ดังนั้น การศึกษาอวกาศในอนาคตจะเป็นการทำงานร่วมกันของสองความยาวคลื่นแสง ซึ่งจะช่วยขยายขอบเขตการวิจัยที่ก้าวล้ำได้ เช่น องค์ประกอบของดาวเคราะห์นอกระบบ ซูเปอร์โนวาที่ผิดปกติ แกนของกาแล็กซี และเคมีในจักรวาลอันห่างไกล

เรียบเรียงจาก NASA

เปิด 4 สถิติยอดเยี่ยมของ อาร์เซน่อล หลังถล่ม เชลซี 5-0

วิเคราะห์บอลคำพูดจาก เว็บพนันออน! พรีเมียร์ลีก แมนยู พบ เชฟฯ ยูไนเต็ด 24 เม.ย.67

รู้จัก “วิล ชวิณ” ทายาทตระกูลดัง ถูกลุ้น! รักใหม่ “เบลล่า ราณี”

By admin

Related Post