ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูกจนโตในประเทศจีน สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก!

เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศจีนขณะนี้ กำลังเผชิญปัญหาประชากรหดตัวและเด็กเกิดใหม่ลดลง จนทางการต้องพยายามกระตุ้นประชาชนให้แต่งงานและมีบุตรเพิ่มมากขึ้น แต่ในมุมมองประชาชนแล้ว ด้วยภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้พวกเขาไม่พร้อมและไม่ต้องการที่จะแบกรับค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร

ผลการศึกษาล่าสุดจากสถาบันวิจัยประชากรอวี้วา (YuWa) ยิ่งตอกย้ำความกังวลของประชาชน เมื่อพวกเขาพบว่า ปัจจุบัน “จีนเป็นประเทศที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในโลกเป็นอันดับ 2 ในการเลี้ยงดูบุตรจนโต”

สหรัฐฯ ตั้งข้อหามาเฟียญี่ปุ่น-ผู้สมรู้ร่วมคิดชาวไทย ค้าวัสดุนิวเคลียร์

หนุ่มโคโลราโดเสียชีวิต หลังถูก “กิ้งก่ากิลามอนสเตอร์” ที่เลี้ยงไว้กัด

สตาร์บัคส์ในจีนเปิดตัวเครื่องดื่มใหม่สุดแหวกแนว “กาแฟรสหมูตุ๋น” คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

รายงานที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 ก.พ. พบว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการเลี้ยงดูบุตรในประเทศจีนจนถึงอายุ 18 ปีอยู่ที่ 538,000 หยวน (ราว 2.73 ล้านบาท) ซึ่งสูงกว่า GDP ต่อหัวถึง 6.3 เท่า และหากเป็นเด็กที่เติบโตในเมือง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นเป็น 667,000 หยวน (ราว 3.38 ล้านบาท)

 ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูกจนโตในประเทศจีน สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก!

อัตราดังกล่าวของจีนเป็นรองเพียงเกาหลีใต้เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันก็กำลังประสบกับปัญหาอัตราการเกิดต่ำเช่นกัน

ส่วนเมื่อเทียบกับประเทศอื่นก็พบว่าอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อ GDP ของจีนสูงกว่าต่อนข้างมาก เช่น สหรัฐฯ มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 4.11 เท่าของ GDP หรือญี่ปุ่นอยู่ที่ 4.26 เท่า และออสเตรเลียอยู่ที่ 2.08 เท่าของ GDP เฉลี่ยต่อคน

รายงานยังกล่าวถึงต้นทุนเสียโอกาส ซึ่งส่วนใหญ่เกิดกับมารดาที่มีลูก โดยจากการสำรวจระหว่างปี 2010-2018 พบว่า เวลาต่อสัปดาห์ที่ผู้ปกครองต้องใช้ในการช่วยทำการบ้านของลูกวัยเรียนชั้นประถมศึกษาเพิ่มขึ้นจาก 3.67 ชั่วโมงเป็น 5.88 ชั่วโมง ทำให้มารดาประสบกับการสูญเสียชั่วโมงการทำงานและเวลาว่าง ส่งผลต่อรายได้ประมาณหนึ่ง

“เนื่องจากเหตุผลต่าง ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายสูงในการคลอดบุตร และความยากลำบากสำหรับผู้หญิงในการสร้างสมดุลระหว่างครอบครัวและการทำงาน ทำให้ความพร้อมในการเจริญพันธุ์โดยเฉลี่ยของชาวจีนเกือบจะต่ำที่สุดในโลก” นักวิจัยสรุป โดย “ความพร้อมในการเจริญพันธุ์” หมายถึงจำนวนเด็กในอุดมคติของสังคม ซึ่งในประเทศจีนคือน้อยกว่า 2 คน

เมื่อปีที่แล้วจำนวนประชากรของจีนลดลงเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ส่วนจำนวนการเกิดในปี 2023 อยู่ที่ประมาณ 9 ล้านคน หรือประมาณครึ่งหนึ่งของตัวเลขเมื่อปี 2016

ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะชะลอหรือปฏิเสธการเป็นแม่มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากผลกระทบด้านลบที่มีต่ออาชีพการงานและการเงินของพวกเธอ แม้ในปี 2017 รัฐบาลจะยกเลิกนโยบายลูกคนเดียวที่มีมานานหลายทศวรรษ และตอนนี้สนับสนุนให้ผู้หญิงมีลูกได้ถึง 3 คน หรือบางจังหวัดได้ยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนเด็กในครัวเรือน แต่นั่นก็ไม่ได้ช่วยให้คนอยากมีลูก

จาง ลี่เจีย นักเขียนที่กำลังเขียนหนังสือเกี่ยวกับทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้หญิงจีนต่อการแต่งงานและการเป็นแม่ กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาและที่อยู่อาศัยที่สูงทำให้การเลี้ยงดูลูกสร้างความยากลำบากทางการเงิน

“ผู้หญิงหลายคนที่ฉันสัมภาษณ์บอกว่า พวกเธอไม่มีเงินพอจะมีลูก 2-3 คน บางคนพอจะเล้ยงได้คนหนึ่ง บางคนไม่ต้องการมีแม้แต่คนเดียวเลยด้วยซ้ำ” เธอบอก

จางเสริมว่า “อีกปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันคือการเปลี่ยนทัศนคติ ผู้หญิงในเมืองและผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาจำนวนมากไม่ได้มองว่าความเป็นแม่เป็นเส้นทางที่จำเป็นในชีวิตหรือเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับความสุขอีกต่อไป”

รายงานของอวี้วาสรุปว่า “อัตราการเกิดที่ลดลงจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ความมีชีวิตชีวาของนวัตกรรม ดัชนีความสุขของผู้คน และแม้แต่การฟื้นฟูของชาติ … เหตุผลพื้นฐานว่าทำไมจีนถึงมีอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำที่สุดในโลกก็คือ เรามีต้นทุนการเจริญพันธุ์ที่สูงที่สุดในโลก”

เรียบเรียงจาก The Guardian

Air Japan แจงเหตุยกเลิกเที่ยวบิน อากาศยานขัดข้อง คาดเปิดให้บริการ 23 ก.พ.นี้

สรุป 16 ทีมสุดท้าย ยูโรป้า ลีก ลิเวอร์พูล มีโอกาสจับเจอทีมใด

กางปฏิทิน เงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างประจำ จ่าย 2 รอบ ปี 2567

By admin

Related Post